ขอบคุณรูปภาพจาก Fruitmentor.com
🌿 การต่อกิ่งแบบเสียบยอด
(Cleft
Grafting)
การต่อกิ่ง คือ การนำกิ่งพันธุ์ดีมาต่อบนต้นตอ
มักใช้สำหรับการเปลี่ยนพันธุ์พืชมากกว่าการขยายพันธุ์ นิยมใช้แพร่หลายและได้ผลดีกับทั้งไม้ผลและไม้ประดับ
เช่น มะม่วง ขนุน เฟื่องฟ้า
ชบา โกศล เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญที่สุดในการต่อกิ่งคือ ต้นตอและต้นพันธุ์ดีเมื่อต่อแล้ว เนื้อเยื่อเจริญของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีต้องเชื่อมต่อกันได้
สามารถเจริญเติบโต ออกดอก และติดผลได้
มีวิธีทำดังนี้
1.
การต่อกิ่งไม้เนื้ออ่อน (Herbaceous grafting)
เป็นวิธีที่ใช้ต่อกิ่งไม้เนื้ออ่อน
ไม้ชุ่มน้ำ และยอดอ่อนองไม้เนื้อแข็งทั่วๆไป วิธีการต่อมีอยู่ 2 วิธีดังนี้
1.1. การต่อกิ่งแบบฝานบวบ
(Spliced
grafting) ปฏิบัติดังนี้
1. เลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ให้มีขนาดเท่า
ๆ กัน และควรให้บริเวณที่ต่อเรียบและตรง
2. เฉือนปลายกิ่งต้นตอให้เฉียงขึ้น
ให้แผลที่เฉือนยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว
3. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เฉียงลงให้แผลและองศาที่เฉียงพอ
ๆ กับที่เตรียมบนต้นตอ
4. ประกอบแผลของกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลที่เตรียมไว้บนต้นตอให้สนิท
5. พันด้วยผ้าพลาสติกให้แน่น
1.2.
การต่อกิ่งแบบเข้าเดือย (Saddle grafting๑)
ปฏิบัติดังนี้
1.
เลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีเหมือนวิธีแบบฝานบวบ
2.
เฉือนต้นตอให้เฉียงขึ้นทั้งสองข้างเป็นรูปลิ่ม
3.
เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปง่าม (รูปตัว V หงาย)
พอเหมาะกับแผลของต้นตอที่เตรียมไว้
4.
เสียบกิ่งพันธุ์ดีลงบนต้นตอให้รอยแผลประกบกันพอดี
5.
พันด้วยพลาสติกให้แน่น
2.
การต่อกิ่งแบบเสียบแปลือก (Bark grafting)
เป็นวิธีการที่นิยมในการต่อยอดไม้ผล
ทั้งพืชที่มีเปลือกหนาและเปลือกบาง ข้อดีของการต่อกิ่งวิธีนี้คือ
เนื้อไม้จะไม่ถูกผ่าออกจากกัน
โอกาสที่รอยต่อจะเน่าหรือถูกทำลายจากเชื้อโรคจึงมีน้อย แต่มีข้อเสียคือจะต้องทำการต่อขณะที่ต้นตอมีเปลือกล่อนในระยะที่ต้นพืชมีการเจริญเติบโตดีเท่านั้น
โดยมีวิธีการต่อดังนี้
2.1.
การต่อกิ่งแบบเสียบเปลือก (Bark grafting)
1.
เลือกต้นตอบริเวณที่จะทำการต่อให้ตรง
2.
ตัดต้นตอในแนวระดับ ให้รอยตัดอยู่ใต้ข้อเล็กน้อย
3. กรีดเปลือต้นตอถึงเนื้อไม้จากรอยตัดลงล่างยาวประมาณ
1-2 นิ้ว
4.
เผยอเปลือกไม้เล็กน้อยตรงรอยกรีดที่ติดกับหัวรอยตัด
5.
เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเฉียงลง ให้แผลยาวเท่ารอยกรีดบนต้นตอ
6.
บากโคนแผลรายเฉือนของกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นบ่า
และเฉือนปลายรอยแผลทางด้านตรงข้ามเล็กน้อย
7.
เสียบกิ่งพันธุ์ดีให้รอยบากเข้าหาต้นตอจนรอยบากวางบนหัวต้นตอพอดี
8.
พันด้วยพลาสติกให้แน่น
3.
การต่อกิ่งแบบเสียงข้าง (Side grafting)
เป็นวิธีการต่อกิ่งไม้ประดับที่ปลูกอยู่ในกระถาง
เช่น เฟื่องฟ้า โกศล เล็บครุฑ ชบา ชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้ต่อกิ่งไม้ผลบางชนิดได้ดี
เช่น มะม่วง ทับทิม ลองกอง เป็นต้น
ส่วนใหญ่ของช่วงเวลาที่ทำการต่อจะทำในระยะที่กิ่งเปลือกติด
ซึ่งเกิดจากการชะงักหรือหยุดการเจริญในชั่วเวลาหนึ่ง
4.
การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม (Cleft grafting)
การต่อกิ่งแบบนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้สำหรับการต่อยอดโดยเฉพาะ
ไม่ว่าจะเป็นกิ่งที่มีขนาดใหญ่หรือเล็ก
แต่ขนาดของกิ่งที่พอเหมาะจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-4 นิ้ว
ใช้ในการต่อกิ่งพืชที่มีเส้นเนื้อไม้ตรง กิ่งพันธุ์ดีควรเป็นกิ่งแก่อายุประมาณ 1
ปี ขณะทำการต่อต้นตอควรมีเปลือกไม่ล่อนจากเนื้อไม้ มักใช้ต่อพันธุ์พืชผลัดใบ เช่น
ทับทิม น้อยหน่า เป็นต้น
5.
การต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น (Whip of Tongue grafting)
เป็นวิธีที่ใช้ต่อกิ่งขนาดเล็ก
1/3 - 1/2 นิ้ว และกิ่งต้องมีขนาดเท่า ๆ กันและควรใช้กิ่งที่ตรงและเรียบ